กรณีที่พนักงานสอบสวนยึดรถยนต์ชนแล้วหลบหนี เจ้าของหรือผู้ครอบครองได้เรียกขอรับรถคืน ให้พิจารณาจากหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. เมื่อพนักงานสอบสวนได้จัดการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์รถของกลางหรือผู้ชำนาญการที่ประสบการณ์ในการตรวจสภาพความเสียหายของรถคู่กรณี ในทางคดีเสร็จแล้ว
๒. มีหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องขอรับรถคืนเป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือเป็นผู้ครอบครองรถโดยชอบด้วยกฎหมาย
๓. เมื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
๓.๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ปกปิดช่วยเหลือผู้ขับรถของตนให้พ้นจากการจับกุม แต่ได้กระทำการใดฯ อันแสดงว่าได้พยายามช่วยเหลือเพื่อให้พนักงานจับกุมคนขับที่หลบหนี เช่น ได้นำเอกสารหลักฐานอันสำคัญที่น่าเชื่อว่าเป็นผู้ขับรถคันเกิดเหตุแล้วหลบหนี
๓.๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองได้ช่วยเหลือ และได้บรรเทาผลร้าย
๓.๓ ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ ค่าเสียหาย จนผู้เสียหายพอใจ แต่ในกรณีที่ผู้เสียหายเรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควรจนเห็นได้ชัด ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้พอสมควรแล้ว แม้ผู้เสียหายยังไม่ยอมรับก็อาจคืนรถให้ไปได้
ข้อความในข้อ ๓.๓ นี้ไม่ใช้บังคับในกรณีที่การสอบสวนปรากฏชัดว่ารถนั้นถูกผู้อื่นโจรกรรมไป และผู้ขับขี่ได้ขับขี่ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
๔. กรณีได้ตัวผู้ต้องหาหลังจากที่กระทำผิดแล้วหลบหนี ผู้ร้อง สามารถเสนอขอคืนของกลางรถได้ทันทีโดยไม่ต้องดำเนินการตาม ข้อ ๓
๕. ผู้มีอำนาจสั่งคืน เมื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถที่ถูกยึดไว้ร้องขอรับรถคืน ให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑ ให้พนักงานสอบสวนที่สอบสวนคดีนั้น เสนอข้อเท็จจริงและสำนวนการสอบสวน พร้อมด้วยความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณา และให้หัวหน้าสถานีตำรวจหรือสารวัตรหัวหน้าหน่วยงาน เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งคืนหรือไม่คืนรถที่ยึดไว้ เว้นแต่ กรณีที่หัวหน้าสถานีตำรวจหรือสารวัตรหัวหน้าหน่วยงาน เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการคืนรถ ให้นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือเป็นผู้พิจารณา
๕.๒ ในกรณีที่เรื่องขึ้นสู่การพิจารณาของผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือผู้กำกับการ (ผบก.ฯ) เช่น มีผู้ร้องเรียนต่อ ตร. ผบช. ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นผู้พิจารณาสั่งคืนหรือไม่คืนรถที่ยึดไว้แทนผู้กำกับการ (ผบก.ฯ)
(ที่มา.- หนังสือ คด.ตร.ที่ ๐๕๐๓/๒๑๙๒๓ ลง ๑๓ ส.ค.๒๕๒๓ เรื่องหลักเกณฑ์การคืนรถยนต์ของกลาง และหนังสือ คด.ตร.ที่ ๐๖๐๖.๖/๑๕๓๒๐ ลง ๓ พ.ย.๒๕๔๐ การคืนรถยนต์ของกลางตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ )
๑. เมื่อพนักงานสอบสวนได้จัดการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์รถของกลางหรือผู้ชำนาญการที่ประสบการณ์ในการตรวจสภาพความเสียหายของรถคู่กรณี ในทางคดีเสร็จแล้ว
๒. มีหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องขอรับรถคืนเป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือเป็นผู้ครอบครองรถโดยชอบด้วยกฎหมาย
๓. เมื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
๓.๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ปกปิดช่วยเหลือผู้ขับรถของตนให้พ้นจากการจับกุม แต่ได้กระทำการใดฯ อันแสดงว่าได้พยายามช่วยเหลือเพื่อให้พนักงานจับกุมคนขับที่หลบหนี เช่น ได้นำเอกสารหลักฐานอันสำคัญที่น่าเชื่อว่าเป็นผู้ขับรถคันเกิดเหตุแล้วหลบหนี
๓.๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองได้ช่วยเหลือ และได้บรรเทาผลร้าย
๓.๓ ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพ ค่าเสียหาย จนผู้เสียหายพอใจ แต่ในกรณีที่ผู้เสียหายเรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควรจนเห็นได้ชัด ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้พอสมควรแล้ว แม้ผู้เสียหายยังไม่ยอมรับก็อาจคืนรถให้ไปได้
ข้อความในข้อ ๓.๓ นี้ไม่ใช้บังคับในกรณีที่การสอบสวนปรากฏชัดว่ารถนั้นถูกผู้อื่นโจรกรรมไป และผู้ขับขี่ได้ขับขี่ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น
๔. กรณีได้ตัวผู้ต้องหาหลังจากที่กระทำผิดแล้วหลบหนี ผู้ร้อง สามารถเสนอขอคืนของกลางรถได้ทันทีโดยไม่ต้องดำเนินการตาม ข้อ ๓
๕. ผู้มีอำนาจสั่งคืน เมื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถที่ถูกยึดไว้ร้องขอรับรถคืน ให้ดำเนินการดังนี้
๕.๑ ให้พนักงานสอบสวนที่สอบสวนคดีนั้น เสนอข้อเท็จจริงและสำนวนการสอบสวน พร้อมด้วยความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณา และให้หัวหน้าสถานีตำรวจหรือสารวัตรหัวหน้าหน่วยงาน เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งคืนหรือไม่คืนรถที่ยึดไว้ เว้นแต่ กรณีที่หัวหน้าสถานีตำรวจหรือสารวัตรหัวหน้าหน่วยงาน เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการคืนรถ ให้นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือเป็นผู้พิจารณา
๕.๒ ในกรณีที่เรื่องขึ้นสู่การพิจารณาของผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือผู้กำกับการ (ผบก.ฯ) เช่น มีผู้ร้องเรียนต่อ ตร. ผบช. ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นผู้พิจารณาสั่งคืนหรือไม่คืนรถที่ยึดไว้แทนผู้กำกับการ (ผบก.ฯ)
(ที่มา.- หนังสือ คด.ตร.ที่ ๐๕๐๓/๒๑๙๒๓ ลง ๑๓ ส.ค.๒๕๒๓ เรื่องหลักเกณฑ์การคืนรถยนต์ของกลาง และหนังสือ คด.ตร.ที่ ๐๖๐๖.๖/๑๕๓๒๐ ลง ๓ พ.ย.๒๕๔๐ การคืนรถยนต์ของกลางตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ )